ศาสนาสำคัญในประเทศไทยแม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
อย่างไรก็ตาม
ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในประเทศไทย
ทั้งนี้เพราะทุกศาสนาสอนให้คนละเว้นความชั่วประพฤติแต่ความดี
ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยเหนี่ยวรั้งบุคคลมิให้ประพฤติไม่ดี
สำหรับศาสนาสำคัญในประเทอ่านเพิ่มเติม
สังคมศึกษา
วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
ศาสนา ในภาษาอังกฤษคือ "Religion"
โดยเป็นคำที่มาจากคำละติน
"Religio" ซึ่งแปลว่า "สัมพันธ์" หรือ "ผูกพัน"
เนื่องจากภาษาละตินเป็นภาษาของชนชาติโรมัน ดังนั้น คำว่า "Religio"
จึงหมายถึง
"ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า"ในภาษาบาลีจะ เขียนว่า
"สาสน" ซึ่งแปลว่า "คำสั่งสอน" ซึ่ง "คำสั่ง"
หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว และสำหรับ "คำสอน" หมายถึง
คำแนะนำให้ทำความดีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (๒๕๒๗ :
๒๘-๓๖) ทรงให้ความหมายว่า ศาสนา มีความหมายสรุปได้เป็น ๒ นัย คือ (๑) คำสั่งสอน
(๒) การปกครองพระราชวรมุนี (ประยุทธ ปยุตฺโต) (๒๕๒๗: ๒๙๑) ทรงให้นิยามว่า “ศาสนา”
คือ
คำสอน คำสั่งสอน ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่งๆ
พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิพิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้น
ๆ ทั้งหมดสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) (๒๕๓๑: ๙๑)
ทรงอธิบายว่า ศาสนาคือ คำสั่งสอน ท่านผู้ใดเป็นต้นเดิม เป็นผู้บัญญัติสั่งสอน
ก็เรียกว่าศาสนาของท่านผู้นั้น หรือท่านผู้บัญญัติสั่งสอนนั่นได้นามพิเศษอย่างไร
ก็เรียกชื่อนั้นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ศาสนาจึงมีมาก คำสอนก็ต่างกันอ่านเพิ่มเติม
ศาสนากับสังคมไทย
พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน
วิถีชีวิตของชาวไทยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ชาวไทยร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา
ได้นำหลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตจนกลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม
และเอกลักษณ์มรดกของชาติไทยตราบเท่าทุกวันนี้ในชั้นนี้
นักเรียนจะได้ศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมสังคมไทยมีหลักปฏิบัติและวิถีชีวิตอยู่บนหลักของพระพุทธศาสนา
ซึ่งได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
หลักธรรมคำสอนและความเชื่อตลอดจนแนวปฏิบัติตนตามหลักศาสนาได้ซึมซาบอยู่กับวิถีชีวิตของคนไทยทุกคน
จึงกล่าวได้ว่าสังคมไทยทุกระดับได้รับเอาความเชื่อทางศาสนามาเป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตจนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้นมา เพื่อความเข้าใจจะได้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสอ่านเพิ่มเติม
หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต
ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ
๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย
พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป
หน้าที่สำคัญของชาวพุอ่านเพิ่มเติม
พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง
พระเวสสันดรเป็นโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้าสัญชัยแห่งแคว้นสีพี
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 ปี
ได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรีเจ้าหญิงแห่งแคว้นมัททะ มีพระโอรสและพระธิดา คือ
ชาลีกุมาร และกัณหากุมารีพระเวสสันดรใจบุญมาก สร้างโรงทานไว้บริจาคคนยากจน 6 แห่ง
ต่อมาได้บริจาคช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลให้แก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอ
ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันกราบทูลพระเจ้าสัญชัยให้เนรเทศออกจากเมือง
พระเจ้าสัญชัยจำต้องยอมทำตามมติของมหาชน พระเวสสันดรเองก็ยอมรับมตินั้น
แต่ก่อนจากไปนั้นได้ทูลขอบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่เรียกว่า “สัตตสดกมหาทาน”
คือให้ของอย่างละ
700 เป็นทาน มีช้าง 700 เชือก ม้า 700 ตัว วัวนม 700 ตัว รถ 700 คัน นารี 700 นาง
ทาส 700 คน ทาสี 700 คน ผ้าอาภรณ์อย่างละ 700
จากนั้นได้เสด็จออกจากเมืองพร้อมกับพระนางมัทรี เจ้าหญิงกัณหา และเจ้าชายชาลี
ไปจนถึงเขาวงกต ในป่าหิมพานต์แล้วได้บวช เป็นฤาษีแยกกันอยู่
โดยพระโอรสพระธิดาอยู่กับพระนางมัทรี ต่อมา พราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก มาทูลขอชาลีกุมาร
กับกัณหากุมารี อ่านเพิ่มเติม
พระสงฆ์
พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ
ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้พระสงฆ์
จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์[1]
คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา
ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล
แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี
คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า
เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา
พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท
311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแอ่านเพิ่มเติม
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิต หมาย ถึง
การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์
ซึ่งต่างกับการบริหารกาย
เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต
จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ
คือการทำสมาธินั่นเองสมาธิ หมายถึง ภาวะของจิตที่ตั้งมั่น
กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ
เรื่องใดเรื่องหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
ไม่ฟุ้งซ่านไปหาสิ่งอื่นหรือเรื่องอื่นจากสิ่งที่กำหนด
ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งหรืออารมณ์เดียวและจิตตั้งมั่นนั้นจะต้องเป็น กุศล
ลักษณะของสมาธิ คือ จิตจะเกิดความสงบ เยือกเย็น สบายใจ มีความผ่อนคลาย เอิบอิ่มใจ
ปลอดโปร่ง และมีความสุข ในวันหนึ่ง ๆ จิตของเราคิดเรื่องต่าง ๆ มากมาย
จิตย่อมจะเหนื่อยล้า
หากไม่ได้มีการบำรุงรักษาหรือบริหารจิตของเราให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์
จิตจะอ่อนแอ หวั่นไหวต่อเหตุการณ์รอบตัวได้ง่าย เช่น
บางคนจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาจนเกินเหตุ เมื่ออยู่ในอาการตกใจ เสียใจ
โกรธ ดีใจ หรือเกิดความอยากได้ เพราะจิตใจอ่อนแอ ขุ่นมัว
การทำจิตใจให้ผ่องใสหรือการฝึกจิต คือ
การฝึกจิตให้มีสติสามารถควบคุมจิตใจให้จดจ่อกับสิ่อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)